โทกูงาวะ อิเอฮารุ
โทกูงาวะ อิเอฮารุ

โทกูงาวะ อิเอฮารุ

โทะกุงะวะ อิเอะฮะรุ (ญี่ปุ่น: 徳川 家治 โรมาจิTokugawa Ieharu22 พฤษภาคม ค.ศ. 1737 - 17 กันยายน ค.ศ. 1786) เป็น โชกุน คนที่ 10 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ (ช่วงสมัย: 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1760 ถึง 17 กันยายน ค.ศ. 1786) เป็นบุตรชายคนโตของโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะชิเงะ และนางชิชิน-อิน (Shishin-in, 至心院) โชกุนอิเอะชิงะผู้เป็นบิดาได้สละตำแหน่งโชกุนให้แก่อิเอะฮะรุในค.ศ. 1760 และถึงแก่อสัญกรรมในปีต่อมา ค.ศ. 1761ในสมัยของโชกุนอิเอะฮะรุ อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ตกอยู่ที่ ทะนุมะ โอะกิสึงุ (Tanuma Okitsugu, 田沼意次) และเรียกว่า สมัยของทะนุมะ (Tanuma-jidai, 田沼時代) ทะนุมะได้ทำการปฏิรูปเศรษฐกิจของญี่ปุ่น แต่ได้ชื่อว่าเป็นขุนนางที่ทุจริตฉ้อฉลและชั่วร้ายที่สุดในสมัยเอโดะ ใครก็ตามที่ต้องการตำแหน่งสูงส่งในบะกุฟุจำเป็นที่จะต้องติดสินบนทะนุมะ โอะกิสึงุในสมัยของโชกุนอิเอะฮะรุเกิดภัยพิบัติขึ้นถึงสองครั้งในญี่ปุ่น ได้แก่ ไฟไหม้ครั้งใหญ่ปีเมวะ (Meiwa-no-daika, 明和の大火) ใน ค.ศ. 1772 และทุพภิกขภัยปีเท็นเม (Tenmei-no-daikikin, 天明の大飢饉) ใน ค.ศ. 1782 ถึง 1787[1] ในสมัยของโชกุนอิเอะฮะรุ หัวหน้าสถานีการค้า (Opperhoofd) ของฮอลันดาที่เกาะเดะจิมะชื่อว่า ไอแซค ทิตซิงฮ์ (Isaac Titsingh) ได้เข้าพบโชกุนอิเอะฮะรุ เป็นสมัยที่รังงะกุ (Rangaku, 蘭学) หรือศิลปวิทยาการตะวันตกนั้นเจริญรุ่งเรืองมากในญี่ปุ่นโทะกุงะวะ อิเอะโมะโตะ (Tokugawa Iemoto, 徳川家基) บุตรชายเพียงคนเดียวของโชกุนอิเอะฮะรุ ได้เสียชีวิตลงในค.ศ. 1779 ด้วยอายุสิบแปดปี ใน ค.ศ. 1781 บะกุฟุได้เลือกโทะกุงะวะ อิเอะนะริ (Tokugawa Ienari, 徳川家斉) จากตระกูลโทะกุงะวะสาขาฮิโตะสึบะชิ (Hitotsubashi-Tokugawa-ke, 一橋徳川家) มาเป็นบุตรบุญธรรมและทายาทของโชกุนอิเอะฮะรุ โชกุนอิเอะฮะรุถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1786

ใกล้เคียง

โทกูงาวะ โทกูงาวะ อิเอยาซุ โทกูงาวะ โยชิโนบุ โทกูงาวะ ฮิเดตาดะ โทกูงาวะ อิเอมิตสึ โทกูงาวะ โยชิมูเนะ โทกูงาวะ อิเอ็ตสึนะ โทกูงาวะ สึนาโยชิ โทกูงาวะ อากิตาเกะ โทกูงาวะ อิเอโยชิ